การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
1. บรรลุเป้าหมายของงาน
2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
KM ใน ม.นเรศวร
ประสบการณ์ KM blog ของนิสิต ป.โท หลักสูตรและการสอน KM เป็นนวัตกรรมที่น่านำมาใช้ในการพัฒนาครู พัฒนาการเรียนการสอน ตลอดจนพัฒนาโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพในภาคเรียนนี้ได้รับมอบหมายให้สอนรายวิชา นวัตกรรมด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน กับนิสิตปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน ซึ่งดิฉันเห็นว่า KM เป็นนวัตกรรมที่น่านำมาใช้ในการพัฒนาครู พัฒนาการเรียนการสอน ตลอดจนพัฒนาโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้แนะนำให้นิสิตได้รู้จักกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน blog กับบุคคลอื่นๆอย่างหลากหลาย จึงขอใช้บันทึกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลียนเรียนรู้ของนิสิตต่อไป